https://youtu.be/SHtCDR5x2RQวิดีโอนี้พร้อมคำบรรยายภาษาไทย
ไวรัสโคโรน่า: มหันตภัยร้ายทำลายโลก…จริงหรือ?
ผมต้องขอสารภาพก่อนเลยว่า ผมไม่ได้คิดว่านี่จะเป็นวิดิโอตัวต่อไปที่จะทำ แต่ด้วยสถานกรณ์วิกฤติทางสุขภาพระดับโลกในปัจจุบัน เราทุกคนต่างพยายามมองหาบทบาทของตนเองในสถานการณ์นี้
แล้วทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากไวรัสที่เหมือนกับการเป็นหวัดทั่วไป ซึ่งไม่สามารถคร่าชีวิตผู้คนได้เท่ากับไข้หวัดปกติงั้นเหรอ
แล้วทำไมทุกคนถึงต้องตื่นกลัวด้วยเล่า มันเป็นแค่การพูดเกินจริงรึเปล่า
หากคุณอยากทราบคำตอบของผมสำหรับข้อสงสัยนี้ ผมมีความเห็นว่าอย่างไร แล้วทำไมผมถึงคิดเช่นนั้น โปรดอยู่ฟังผมก่อนนะครับ
วิดิโอนี้จะยาวกว่าวิดิโอทั่วไปของผมที่มีความยาว 5 นาที
หากคุณไม่มีเวลามาก นี่คือคำตอบสั้น ๆ ครับ
ไวรัสนี้ไม่ใช่ไวรัสไข้หวัด มันอันตรายกว่านั้นเยอะ และมันอันตรายด้วยเหตุผลที่คุณอาจไม่ได้คิดถึง มันไม่ใช่เหตุผลเรื่องการเสียชีวิต
00:00:54
ไวรัสโคโรน่า: มหันตภัยร้ายทำลายโลก…จริงหรือ?
หนึ่งในปัญหาที่ผมได้ยินบ่อยมากจากผู้คนที่ผมคุยเรื่องไวรัสนี้ด้วยก็คือ การเปรียบเทียบไวรัสตัวนี้กับอาการไข้หวัดใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายคนจะบอกว่า ฟังนะ มีคนตายด้วยโรคไข้หวัดปีละหลายคน
มีคนป่วยเป็นไข้หวัดปีละหลายคน
แล้วโรคไข้หวัดก็เกิดขึ้นทุกปี ไม่เห็นจะมีใครออกมาแสดงอาการอะไรเลย
แต่พอจู่ ๆ โคโรน่าไวรัสปรากฏตัวขึ้น ทั้ง ๆ ที่มีอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าการเป็นไข้หวัด มันส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนน้อยกว่าไข้หวัด
และจนถึงตอนนี้ก็มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้น้อยกว่าการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ แต่ทุกคนกลับกำลังตื่นตระหนกกับโรคนี้
ไวรัสชนิดนี้ร้ายแรงกว่าไข้หวัด แต่มันร้ายแรงด้วยเหตุผลที่ต่างกัน
หากเราดูจากจำนวนผู้คนที่ได้รับผลกระทบรายปี ไวรัสชนิดนี้แตะไม่ถึง 10 อันดับแรกของเหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยซ้ำ
แต่การบอกว่าไวรัสนี้เป็นแค่ไวรัสไข้หวัดก็ไม่ใช่การกระทำที่ฉลาด
และนี่คือเหตุผลว่าทำไม มาเริ่มจากการเปรียบเทียบกับไข้หวัด
โดยดูจากอัตราการเสียชีวิตก่อนเลยครับ
เพื่อเป็นการอธิบายเพิ่มเติม ผมขออธิบายก่อนว่าอัตราการเสียชีวิตหมายถึงอะไร
อัตราการเสียชีวิตวิเคราะห์จากการคำนวณจำนวนผู้คนที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อ
และหารด้วยจำนวนผู้คนที่ได้รับการติดเชื้อดังกล่าว
ตอนนี้เรารู้แล้วว่า สำหรับโคโรน่าไวรัส อัตราการเสียชีวิตที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 1%
ตัวเลขที่ถูกต้องค่อนข้างไม่ตายตัว เพราะมีตัวแปรมากมายสำหรับแต่ละประเทศ
00:02:13
ข้อมูลปัจจุบันของสหรัฐอยู่ที่ประมาณ 2.2% แต่อย่าลืมว่าเรายังไม่มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
เรายังไม่มีการทดสอบที่ดีในสหรัฐ
เมื่อเราสามารถพัฒนาการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
และเริ่มทดสอบผู้คนจำนวนมากขึ้น ตัวเลขจำนวนผู้คนทั้งหมดก็จะขยายขึ้น
ซึ่งจะทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยรวมลดลง
00:02:32
ถึงกระนั้นแล้ว งานศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ไวรัสนี้ยังคงมีพิษร้ายแรงกว่าไวรัสไข้หวัดปกติอย่างน้อย 10 เท่า
สาเหตุที่สองที่ทำให้ไวรัสนี้มีอันตรายมากกว่าก็คือ
ต่างจากไข้หวัดใหญ่ เรายังไม่มีวิธีการรักษา หรือวัคซีน
ตอนนี้เรากำลังคิดค้นวิธีการรักษาก็จริง แต่ก็ยังไม่มีวิธีใดที่แน่ชัด
และเราต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 18 เดือนในการคิดค้นวัคซีนที่ได้ผล
สาเหตุที่สามคือ ภูมิค้นกัน เราไม่มีภูมิคุ้มกันแต่กำเนิด
หรือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังสำหรับไวรัสชนิดนี้
ภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดคือ ภูมิคุ้มกันที่ติดตัวคุณมาตั้งแต่เกิด
ซึ่งช่วยคุณต่อต้านไวรัสที่ไม่รู้จักบางชนิดได้
ส่วนภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังคือ
ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างการของคุณพบไวรัสแล้ว
ดังนั้นหากเราพิจารณาไข้หวัดใหญ่เป็นตัวอย่าง
เราทุกคนเคยพบไวรัสนี้มาแล้วไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
00:03:18
และเราก็มีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังสำหรับไวรัสนี้
แต่เรายังไม่มีภูมิคุ้มกันใด ๆ สำหรับไวรัสโคโรน่า
แล้วก็ยังมีประเด็นเรื่องภูมิประชากรศาสตร์อีก คืออย่างนี้ครับ
ไข้หวัดใหญ่มักจะส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรของเราที่อายุน้อยที่สุดและมากที่สุด
ส่วนไวรัสโคโรน่าดูจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุมากกว่าผู้คนที่อายุน้อย ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตของทารกจะอยู่ที่ประมาณ 0.2% ซึ่งค่อนข่างต่ำ
00:03:45
แต่สำหรับกลุ่มประชากรสูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปี
อัตราการเสียชีวิตจากไวรัสนี้สูงถึง 15% เลยทีเดียว
นอกจากนี้แล้ว อัตราการเสียชีวิตของคุณก็ยังขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของคุณด้วย
ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะมีอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสนี้มากกว่า 10%
ถึงแม้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสนี้อาจสูงกว่าไข้หวัด ข่าวดีก็คือ สำหรับผู้คนส่วนใหญ่แล้ว
เมื่อได้รับไวรัสเข้าไป จะแสดงอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เราจะต้องพักอยู่บ้านสักสองสามวัน แล้วหลังจากนั้นเราก็จะใช้ชีวิตต่อไปได้ตามปกติ
00:04:20
แต่ประมาณ 15% ของคนกลุ่มนี้จะป่วยหนักมากจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
และประมาณ 5% จะมีอาการป่วยขั้นรุนแรงจนต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด
และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (แล้วทำไมฉันถึงต้องใส่ใจด้วยล่ะ)
00:04:36
คุณควรใส่ใจกับโรคนี้ด้วยเหตุผลบางประการดังนี้ อย่างแรก อย่าลืมว่าไวรัสนี้ยังไม่ทันได้แสดงตัวตนทั้งหมดออกมาเลย
ก่อนวัน Thanksgiving (26 พฤศจิกายน 2563) ไวรัสนี้ยังไม่ปรากฏตัวเลยด้วยซ้ำ
อย่างที่สองคือ การแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วของไวรัสนี้ทำให้มันถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเภทเฉพาะ ไวรัสนี้แพร่กระจายง่ายมาก
ซึ่งเป็นเพราะเหตุผลสามประการดังนี้
ประการแรกไวรัสนี้แพร่โดยการกระจายในอากาศและละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง
00:04:59
ซึ่งหมายความว่า ทุก ๆ ครั้งที่มีคนไอจาม อนุภาคขนาดจิ๋วที่เป็นละอองจะลอยอยู่ในอากาศ
และอนุภาพนี้ก็สามารถเดินทางผ่านอากาศและไปตกอยู่ที่คนอื่นได้
ประการที่สองคือไวรัสนี้อึดมาก เพิ่งมีงานวิจัยใหม่ที่กำลังจะได้รับการตีพิมพ์ใน New England Journal of Medicine
ที่ศึกษาว่าไวรัสนี้มีความทนทานได้นานแค่ไหน เมื่อละอองฝอยถูกพ่นออกไปแล้ว ไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้สองสามชั่วโมง
00:05:22
และหากอยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ อย่างพลาสติกและเหล็กกล้าไร้สนิม มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 3 วัน นั่นเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก
สาม สาเหตุอีกประการที่ทำให้ไวรัสนี้แพร่ได้ง่ายมากคือ สิ่งที่เรียกว่า การแพร่กระจายแบบไม่แสดงอาการ คืออย่างงี้ครับ
คนส่วนใหญ่ที่ได้รับไวรัสนี้จะมีอาการเป็นไข้หวัดอ่อน ๆ หรือในบางกรณีก็ไม่มีอาการอะไรเลย
เมื่อคนเหล่านี้ไม่แสดงอาการอะไรเลย พวกเขาก็ยังสามารถแพร่กระจายไวรัสต่อไปได้โดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ
00:05:55
ในความเป็นจริงแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะยังคงแพร่กระจายไวรัสต่อไปเป็นเวลาประมาณ 7-14 วัน
ก่อนที่จะรู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองป่วยด้วยไวรัสนี้
นี่เป็นผลการค้นพบที่น่ากลัวมาก เพราะนี่หมายความว่า แต่ละคนที่ติดเชื้อไวรัสนี้สามารถมีการสัมผัสและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยเฉลี่ยประมาณ 4-6 คน ก่อนที่ตัวเองจะเริ่มป่วยด้วยซ้ำ
งั้นเราเก็บเหตุผลเหล่านี้ไว้ก่อน อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ไวรัสชนิดนี้น่ากลัวมาก และผมบอกคุณแล้วว่าผมจะเก็บประเด็นนี้ไว้เป็นเรื่องสุดท้าย
00:06:25
สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ไวรัสนี้น่ากลัวไม่ใช่เพราะอัตราการเสียชีวิต มันเป็นเพราะสิ่งที่เรียกว่า ขีดความจุ (Capacity Threshold) เจ้าสิ่งนี้มันคืออะไร ผมจะอธิบายให้ฟังครับ
ความจุ (Capacity) ในที่นี่คือ จำนวนผู้ป่วยที่สาธารณสุขของแต่ละประเทศสามารถรองรับได้ในแต่ละช่วงเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อไวรัสแพร่กระจายไปเร็วมากในชุมชน …และ
มีผู้ป่วยมากมายมาที่โรงพยาบาล และทำให้เกิดการล้นของผู้คนในแผนกการดูแลอย่างใกล้ชิด
เครื่องมือการตรวจรักษาที่มีก็หมดไปกับจำนวนของผู้ป่วยที่เข้ามา
ดังนั้นเตียงห้องไอซียู เครื่องช่วยหายใจ บุคลากรในการรักษาก็ต้องหยุดชะงัก
นอกจากการมีอุปกรณ์อย่างเครื่องช่วยหายใจและเตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ไม่เพียงพอแล้ว
บุคลากรแถวหน้าของกระบวนการนี้ ซึ่งก็คือแพทย์ พยาบาล นักบำบัดทางเดินหายใจ เภสัชกร และบุคลากรอื่น ๆ
00:07:15
ในกลุ่มนี้อาจติดเชื้อ โดนกักตัว หรือเสียชีวิตได้ พวกเขาถูกดึงออกไปจากระบบนี้ ซึ่งทำให้ขีดความจุของจำนวนผู้ป่วยที่รองรับได้ลดลงไปอีก
ผมจะยกตัวอย่างเพื่ออธิบายในส่วนนี้เพิ่มเติมนะครับ อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วว่า
00:07:30
สำหรับไวรัสโคโรน่า 5% หรือ 1 ใน 20 ของผู้ป่วยจะต้องใช่ท่อช่วยหายใจ
ดังนั้นพอพวกเขาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อย่าลืมนะครับว่าพวกเขามักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประมาณสองสามสัปดาห์
ในขณะเดียวกันผู้ป่วยจำนวนมากก็ถาโถมเข้ามาในโรงพยาบาล
เนื่องจากไวรัสแพร่กระจายไปทั่วชุมชน
รวมกับประเด็นที่ผมเพิ่งพูดไปคือ แพทย์ พยาบาล นักบำบัดทางเดินหายใจ พวกเขาก็ป่วยและต้องเลิกปฏิบัติหน้าที่ไป
ดังนั้นกว่าคุณจะรู้ตัว โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขก็พุ่งไปถึงขีดความจุของตัวเองซะแล้ว
00:07:59
หากคุณคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นกับคุณหรอก ลองคิดอีกทีนะครับ
เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศจีน อิตาลี และอิหร่าน สาเหตุที่ประเทศเหล่านั้นต้องปิดประเทศก็เพราะว่า
ระบบสาธารณสุขของพวกเขาถึงขีดจำกัดแล้วอย่างรวดเร็ว
แต่นี่สหรัฐอเมริกาเชียวนะ มันไม่เกิดขึ้นกับเราหรอก คิดผิดแล้วครับ
00:08:18
ในความเป็นจริงแล้ว ผมจะให้ตัวเลขคุณ สหรัฐอเมริกามีเตียงผู้ป่วยหนักประมาณ 34 เตียงต่อผู้ป่วยแสนคน หรือจำนวนประชากรหนึ่งแสนคน
00:08:27
สำหรับการอ้างอิงนะครับ ประเทศอิตาลีมีเตียงผู้ป่วยหนักประมาณ 14 เตียงต่อ 100,000 คน เตียงในอิตาลีขาดแคลนภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์ครึ่ง
00:08:37
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ต้องทำการตัดสินใจอันยากลำบาก พวกเขามักจะเอาผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคอื่นร่วมด้วยออก
เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าและมีโอกาสในการรอดชีวิตสูงกว่า
นี่ไม่ใช่สิ่งที่แพทย์ในทุกประเทศที่พัฒนาแล้วควรต้องตัดสินใจ แล้วถ้าคุณคิดว่าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้นกับเราแน่ ๆ เพราะเราไม่เหมือนเขา
ผมขอให้คุณดูกราฟพวกนี้เลยครับ กราฟแรกชี้ให้เห็นจำนวนผู้ป่วยในอิตาลีกับสหรัฐ
00:09:06
คุณจะเห็นว่าเราตามหลังอิตาลีอยู่ประมาณ 11 วัน
กราฟนี้แสดงเส้นโคจรของทั้งสองประเทศและแสดงให้เห็นว่าเราตามอิตาลีมาติด ๆ เลย
เพราะฉะนั้นหากเราไม่เปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง เราจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาอันใหญ่หลวงแน่ ๆ
00:09:20
นี่จะต้องเป็น wake-up call ของพวกเรา
แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง
พูดสั้น ๆ คือ ช่วยทำให้ส่วน”โค้งนั้นแบนราบลง”ซะ (#FlattenTheCurve)
00:09:29
ไอเดียการทำให้ส่วนโค้งนั้นแบนราบลง ไม่ใช่คำพูดยอดฮิตที่เซ็กซี่อะไรหรอกนะครับ แต่มันเป็นสิ่งที่มีความหมายมาก
00:09:35
เส้นโค้งนี้เรียกว่า เส้นโค้งการระบาดวิทยา
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไวรัสแพร่กระจายในชุมชนอย่างไร
มันคือเส้นโค้งที่แสดงจำนวนผู้ป่วยในแกนหนึ่งและเวลาในอีกแกนหนึ่ง
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคุณทำให้เส้นโค้งนี้แบนราบลงโดยการกระทำการแทรกแซงที่ไม่เกี่ยวกับทางเภสัชวิทยาคือ
ผู้ป่วยอาจมีจำนวนเท่าเดิม แต่พวกเขาจะป่วยในกรอบเวลาที่กว้างขึ้นมาก ซึ่งทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถรับมือไหว
00:09:58
นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ ถึงแม้ว่าผมจะไม่กลัวไข้หวัดใหญ่ แต่ผมกลัวเจ้านี่ เพราะว่าไข้หวัดใหญ่เป็นเส้นโค้งที่แบนราบอยู่แล้ว จริงอยู่ว่าเรามีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า
แต่ผู้ป่วยเหล่านี้เริ่มป่วยในฤดูใบไม้ร่วงไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ มีผู้ที่ป่วยจากโรคนี้มากกว่าก็จริง แต่จำนวนผู้ป่วยก็ไม่ได้ถาโถมเข้าใส่ระบบสาธารณสุข เพราะอาการป่วยเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
แนวคิดนี้จึงมีความสำคัญมากและควรได้รับความเข้าใจ แล้วคุณจะช่วยทำให้เส้นโค้งนี้แบนราบลงได้ยังไง มีสองสามอย่างที่คุณสามารถทำได้ อย่างแรกเลยคือ แนวคิดการ Social Distancing
00:10:32
จริง ๆ แล้วแนวคิดนี้ก็เป็นตัวแทนของคำว่า ปิดให้หมดทุกอย่างนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางสาธารณะต่าง ๆ โรงเรียน โบสถ์ ออฟฟิศ ทุกอย่างที่ทำให้คุณต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นโดยที่ไม่จำเป็น ยกเลิกให้หมด
ยิ่งคุณมีการสัมผัสกับคนอื่นน้อยแค่ไหน คุณก็ยิ่งมีโอกาสในการแพร่เชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัวน้อยลงไปเท่านั้น แล้วโอกาสที่คุณจะไปติดจากคนอื่นก็น้อยลงไปด้วย
00:10:56
อย่างที่สองคือ หยุดกักตุน เอาจริง ๆ นะ การแห่กันไปที่ COSTCO เพื่อแย่งชิงกระดาษทิชชู่ แล้วยืนต่อคิวกับคนอีกเป็นร้อยมันมีประโยชน์อะไร ในเมื่อวิธีป้องกันคือการ social distancing นั่นเป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับสิ่งที่คุณควรจะทำ การกักตุนหน้ากากอนามัยก็ไม่ต่างกัน
00:11:13
อันที่จริง Surgeon General ก็ออกมาเตือนแล้วว่าอย่ากักตุนหน้ากากอนามัย เพราะหน้ากากอนามัยไม่ได้ช่วยป้องกันคุณจากการติดไวรัส หน้ากากแบบเดียวที่สามารถป้องกันคุณได้คือ หน้ากากแบบ N95 ซึ่งคัดกรองอนุภาคที่ลอยอยู่ในอากาศได้มากกว่า 95% หน้ากากส่วนใหญ่ไม่ได้ช่วยป้องกันคุณหรอก
ถึงกระนั้นแล้ว ผมจะบอกคุณว่าถ้าทุกคนสวมหน้ากากอนามัย สถานการณ์ก็จะดีกว่านี้ สาเหตุนั้นง่ายมาก นั่นก็คือถึงแม้ว่าหน้ากากอนามัยจะไม่ช่วยป้องกันคุณจากการติดไวรัส มันสามารถป้องกันไม่ให้คุณไปแพร่เชื้อใส่คนอื่นได้อย่างแน่นอน
ลองคิดดูสิครับ คุณสามารถรับไวรัสเข้ามาจากหลายช่องทางในร่างกายคุณ ไม่ใช่แค่จมูกกับปากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตาและผิวหนังด้วย แต่คุณปล่อยไวรัสได้จาก 2 ช่องทางเท่านั้น นั่นก็คือจมูกและปากของคุณ หากทุกคนปิดปาก การติดเชื้อก็จะเกิดขึ้นน้อยลง หากคุณดูประเทศอย่างสิงค์โปร์ เกาหลีใต้ และฮ่องกง พวกเขาคุมไวรัสอยู่แล้ว นี่เป็นกลยุทธ์บางประการที่เขาใช้นั่นเอง
00:12:15
สี่ คุณต้องปฏิบัติเรื่องการรักษาความสะอาด ผมพูดกี่ครั้งก็ไม่พอ ล้างมือ ล้างมือ ล้างมือ และเมื่อล้างเสร็จแล้ว ก็ใช้สบู่และล้างมืออีกครั้ง ครั้งละ 20 วินาที หากคุณไม่สามารถล้างมือได้ ให้ใช้น้ำยาล้างมือ แต่ต้องดูให้แน่ใจว่าน้ำยานั้นมีแอลกอฮลล์อย่างน้อย 60%
หากคุณใช้น้ำยาล้างมือและล้างมืออยู่แล้ว ก็พยายามอย่าจับหน้าตัวเอง พอผมพูดเสร็จ คุณก็คงรู้สึกอยากจับหน้าตัวเองแล้วล่ะสิ อย่าจับหน้าตัวเองครับ การจับหน้าตัวเองเป็นวิธีที่คุณนำไวรัสตามนิ้วมือของคุณเข้าไปในร่างกาย
อย่างสุดท้าย ซึ่งมีความสำคัญมากคือ หากคุณแสดงอาการ ให้รีบไปตรวจแต่เนิ่น ๆ และกักตัวเอง ในอเมริกาเราอาจมีปัญหาอยู่หน่อย เพราะเรายังไม่มีการตรวจแบบแพร่กระจาย และยังคงต้องใช้เวลาอีกสองสามสัปดาห์กว่าเราจะมีการตรวจดังกล่าว แต่พอเรามีแล้ว หากคุณมีอาการ ผมขอร้องให้คุณไปตรวจ
หากเราดูตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะไวรัสนี้อีกครั้งอย่างสิงค์โปร์ เกาหลีใต้ และฮ่องกง นี่ก็เป็นวิธีอีกอย่างที่เขาปฏิบัติกัน พวกเขาทำการตรวจในวงกว้าง และรีบกักตัวและแยกผู้คนที่ป่วยออก เพื่อที่อัตราการแพร่กระจายของไวรัสนี้ในชุมชนจะได้ลดลงอย่างรวดเร็ว
00:13:29
ผมหวังว่าคุณจะนำข้อมูลที่ได้นี้ไปพิจารณาอย่างจริงจัง และปฏิบัติตามสิ่งที่ผมได้แนะนำไปเพื่อช่วยทำให้เส้นโค้งนี้แบนราบลง ขอให้ทุกคนปลอดภัยครับ



