ไม่อยากแก่ก่อนวัย อย่าดูถูกการนอน

ใครๆ ก็รู้ว่าการนอนนั้นมีประโยชน์ แต่มันจะมีประโยชน์แค่ไหนกันเชียว บทความนี้น่าจะตอบได้ระดับนึงเลยค่ะ จริงๆ แล้วการนอนให้หลับ หลับให้ลึก หลับให้อ่อนเยาว์ ต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ มากมายที่เราอาจคาดไม่ถึง เช่น ช่วงเวลา สิ่งแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงฮอร์โมนที่อยู่ในตัวเราเอง​ นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ตามหลักการทั่วไปแล้ว ระยะเวลานอนที่เพียงพอมักขึ้นกับช่วงอายุของแต่ละคน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความต้องการฮอร์โมนในแต่ละช่วงวัยนั้นไม่เท่ากัน วัยทารกควรนอนให้ได้มากถึง 16 ชั่วโมง, ขณะที่วัยรุ่นต้องการประมาณ 8-9 ชั่วโมง และวัยผู้ใหญ่ควรนอนให้ได้มากถึง 7-8 ชั่วโมงต่อวัน บางรายงานบอกว่าการนอนที่ 7.30 ชั่วโมงก็ถือว่าเพียงพอสำหรับผู้ใหญ่ […]

Continue Reading...

“ไขมันในเลือด” ความมันที่ไม่ได้เกิดจากไขมัน

สวัสดีอีกครั้ง แอดมินเจ้าเก่าเองค่า เจอกันอีกแล้วกับความกำกวมของโรคยอดฮิตที่เรียกได้ว่าถามใคร ก็แทบจะเป็นกันทั้งนั้น นั่นคือ “ไขมันในเลือดสูง” ค่ะ บางคนก็เรียก “คอเลสเตอรอลสูง” เอ๊ะ! ว่าแต่มันต่างกันยังไง ตามอ่านต่อได้เลยค่า   ที่ว่าไขมันสูง เคยสงสัยมั้ย ไขมันอะไรที่สูง? ว่าด้วยเรื่องของไขมัน ต้องทราบกันก่อนค่ะว่าไขมันในเลือดที่เราไปตรวจกันส่วนใหญ่มีทั้งสิ้น 2 ประเภท 1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol): คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดที่พบได้ในสัตว์เท่านั้นค่ะ (ดังนั้นกินกะทิก็ไม่ได้ทำให้คอเลสเตอรอลสูงนะคะ แต่ไปเพิ่มไตรกลีเซอไรด์แทน) แต่นอกจากสัตว์แล้ว อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล กลับเป็นตัวร้ายที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงได้ค่ะ ไว้จะอธิบายเพิ่มเติมในภายหลัง ตอนนี้มารู้จักชนิดของคอเลสเตอรอลกันก่อน […]

Continue Reading...

ใครๆ ก็พูดถึง “ความดันโลหิตสูง” ….​ แล้วมันคืออะไร จะรักษาโดยไม่ใช้ยายังไง เรามีคำตอบค่ะ

เริ่มจากการรู้จักคำว่า “ความดัน” (Blood Pressure) เคยได้ยินกันมั้ยคะ อะไรคือ ความดันตัวบน, ความดันตัวล่าง มันมีที่มาที่ไปอย่างนี้ค่ะความดันตัวบน หรือ ความดันซิสโตลี (systolic blood pressure) หมายถึงแรงดันเลือดในขณะที่หัวใจ บีบตัว ความดันตัวล่าง หรือ ความดันไดแอสโตลี (diastolic blood pressure) หมายถึงแรงดันเลือดในขณะที่หัวใจ คลายตัว ซึ่งสำหรับบุคคลทั่วไป ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากนัก แอดมินแค่อยากให้ทราบว่าความดันทั้งสองแบบนั้นสามารถบ่งบอกว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ค่ะ โดยหน่วยการวัด คือ “มิลลิเมตรปรอท (mmHg)” (เคยสังเกตเครื่องวัดความดันตามโรงพยาบาล ที่คุณพยาบาลบีบๆๆๆ ไล่ปรอทขึ้นไปตามแท่งแก้วมั้ยคะ ปรอทไปได้สูงกี่มิลลิเมตร ก็วัดหน่วยตามนั้นล่ะค่า) […]

Continue Reading...

กระเทียมดำ สูตรลับสำหรับพ่อครัวมือโปร

แม้แต่เชฟก็ยังชอบ “กระเทียมดำ” (คุณก็น่าจะชอบเช่นกัน) กระเทียมดำ สูตรลับสำหรับพ่อครัวมือโปร บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่ากระเทียมสีดำ คือกระเทียมที่เน่าเสียแล้ว แต่ความจริงแล้วมันเป็นหนึ่งในส่วนผสมที่เราเห็นได้ทั่วไปตามร้านอาหาร โดยเฉพาะในต่างประเทศแถบยุโรปและอเมริกา กระเทียมดำทำได้จากการนำหัวกระเทียมมาบ่มภายใต้อุณหภูมิและความชื้นที่จำเพาะ เป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งกลีบของกระเทียมเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท และมีลักษณะเหนียวนุ่มคล้ายลูกอินทผลัมหรือลูกพรุน แล้วรสชาติล่ะ? กระเทียมดำมีรสหวาน แต่ปราศจากกลิ่นที่ร้อนแรงเหมือนกระเทียมสดทั่วไป สำหรับเชฟที่เชี่ยวชาญ กระเทียมดำเปรียบเสมือนทางลัดในการเพิ่มรสชาติที่ผู้ได้ลองต้องถามว่า “มันคืออะไร?” ลงในทุกเมนูอาหาร ตั้งแต่มายองเนสจนถึงสเต็กเนื้อต่างๆ 1. แล้วอะไรคือกระเทียมดำกันแน่ ? กระเทียมดำมันกลายเป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์ขนาดนี้ได้อย่างไร? เมื่อหัวกระเทียมถูกบ่มเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ในอุณหภูมิสูงและความชื้นสูง เอนไซม์ภายในที่เคยทำหน้าที่ส่งกลิ่นฉุนบาดจมูกก็จะแตกตัวออก และด้วยกลไกนี้เองจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard Reaction)” ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีภายในหัวกระเทียมเอง เกิดเป็นกลิ่นและรสชาติที่แปลกใหม่ โดยเฉพาะเมื่อได้ลิ้มรสของมันในเนื้อย่างกับหัวหอมทอดก็ยิ่งเข้ากันดีอย่างไม่น่าเชื่อ […]

Continue Reading...

สรุปผลวิจัยกระเทียมดำ​

กระเทียม คือสมุนไพรที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายและปลูกอยู่ทั่วโลก เป็นพืชตระกูลเดียวกับหัวหอม ต้นหอม และกุ๋ยช่าย คาดว่ามีต้นกำเนิดในแถบไซบีเรีย และเพาะปลูกทั่วโลกมานานกว่า 5,000 ปีแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้กระเทียมในการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ปัญหาความดันเลือด หรืออาจใช้เป็นสมุนไพรลดไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ และระดับคอเรสเตอรอลในเลือด นอกจากนี้ยังนิยมใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภท ที่มาของกลิ่นกระเทียม มาจากสารที่เรียกว่า แอลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบเคมีที่มีสรรพคุณบรรเทาปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน คอเรสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง มะเร็งต่อมลูกหมาก กลาก และสังคัง ปัจจุบันมีหลายบริษัทออกผลิตภัณฑ์กระเทียม “ไร้กลิ่น” โดยนำกระเทียมมาบ่ม […]

Continue Reading...

มารู้จักโรคไขมันพอกตับ (HEPATIC STEATOSIS) กับประโยชน์ของกระเทียมดำกันค่ะ

วันนี้บล็อกข่าวสารขอเสนอภัยเงียบอีกชนิดหนึ่งที่หลายท่านน่าจะพอทราบบ้างแล้ว คือ “โรคไขมันพอกตับ” (Fatty liver disease หรือ Hepatic Steatosis) แต่สำหรับท่านใดต้องการข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้นด้วยภาษาสบายๆ อ่านง่าย ติดตามอ่านต่อด้านล่างได้เลยจ้า ทำไมถึงเรียกโรคไขมันพอกตับว่าเป็น ภัยเงียบ? เพราะโรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักไม่แสดงอาการอะไรออกมาให้เห็น ดังนั้นผู้ป่วยจึงแทบไม่รู้สึกตัวเลยว่าเริ่มเป็นโรคเข้าแล้ว แถมอาการที่เกิดขึ้นได้ก็ไม่เฉพาะเจาะจงพอ เช่น อ่อนเพลีย มึนเวียน คลื่นไส้ หรือรู้สึกตึงๆ บริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ซึ่งแม้จะมีอาการขึ้นจริงๆ หลายครั้งก็อาจจะนึกว่าเป็นโรคอื่นไปได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่ามีโรคไขมันพอกตับ จึงมักตรวจเจอโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี หรือไปพบแพทย์ด้วยโรคอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading...

กรดไหลย้อน แสบกระเพาะอาหาร ทานกระเทียมดำได้มั้ย?

กรดไหลย้อน โรคยอดฮิตของคนรุ่นใหม่ อาการแสบกระเพาะอาหาร แสบหน้าอก เรอเปรี้ยว หลังทานอาหาร เป็นอาการของโรคยอดฮิตในปัจจุบัน “โรคกรดไหลย้อน” ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยมาก  แต่หนึ่งในสาเหตุหลักก็คือการทานอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารนั่นเอง ไม่ว่าจะถั่ว นม ช็อคโกแลต พริก หรือแม้แต่กระเทียมสด เรียกได้ว่าเห็นทีไรเป็นอันเข็ดขยาด ต้องเขี่ยทิ้งทุกทีค่ะ รู้ทั้งรู้ว่า กระเทียม มีประโยชน์มากมาย ทั้งลดไขมัน เป็นสมุนไพรลดคลอเรสเตอรอล ในเลือด ลดความดัน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ทานไม่ได้เพราะแสบท้อง ท้องอืด ท้องเสียตลอด วันนี้ เบเนก้า มีตัวเลือกใหม่มานำเสนอค่ะ นั่นก็คือ “กระเทียมดำ” อาหารนวัตกรรมใหม่ที่มากด้วยคุณสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณค่ามากกว่ากระเทียมสดถึง 13 เท่า […]

Continue Reading...

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมดำ

กระเทียมดำเป็นกระเทียมแก่ที่มีสีน้ำตาลเข้มที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาเมลลาร์ด โดยการนำหัวกระเทียมมาผ่านความร้อนเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์จนกระทั่งได้กระเทียมที่มีกลีบสีดำ เริ่มแรกนั้นกระเทียมดำได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น จากนั้นก็เริ่มแพร่หลายไปทางประเทศในฝั่งตะวันตกและถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารชั้นสูง กระเทียมดำเป็นกระเทียมที่ผ่านการแปรรูปด้วยกระบวนการทางธรรมชาติโดยการใช้ความร้อน ดังนั้นจึงไม่มีสารเติมแต่ง ไม่ใส่สารกันบูดหรือสารอื่น ๆ ความร้อนจะกระตุ้นปฏิกิริยาทางเคมีให้เกิดขึ้นภายในเนื้อกระเทียม โดยเอนไซม์จะย่อยสลายสารประกอบกัมมะถันภายใน เกิดเป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่มีคุณประโยชน์เพิ่มขึ้น กระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นจะทำให้กระเทียมดำมีรสชาติที่เปลี่ยนไป คือกลีบของกระเทียมจะมีลักษณะเหนียวและมีสีดำคล้ายกับผลอินทผลัมหรือลูกพรุน กระเทียมดำมีสารอาหารมากกว่ากระเทียมสด รวมทั้งเป็นอาหารต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่ากระเทียมสดหลายเท่า โดยยิ่งใช้เวลาในการหมักนานเท่าใดก็จะได้กระเทียมดำที่มีสารเอส-อัลลิล ซิสทีอิน (S-allylcysteine) เพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าปริมาณสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในกระเทียมดำจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการบ่มกระเทียมดำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยใช้การทดลองแบบสุ่มโดยสมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วยการทดลอง, การสังเกต, การวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมดำ โดยศึกษาร่วมกับระยะเวลาในการหมักกระเทียมดำ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือกระเทียมดำที่หมักที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส […]

Continue Reading...

กระเทียมดำมีรสชาติอย่างไร?​

เรื่องรสชาติ เป็นเรื่องที่ขึ้นกับแต่ละคนจริงๆ ค่ะ ความอร่อยของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ที่เคยได้ลิ้มลองมา หรือบางครั้งแม้แต่ความเชื่อก็มีผลต่อความอร่อยค่ะ โดยวันนี้เราจะขอแนะนำรสชาติและกลิ่นของพืชที่หลายคนอาจจะกลัว คือ กระเทียม แต่ไม่ใช่กระเทียมปกตินะคะ วันนี้เราจะนำเสนอรสชาติของ “กระเทียมดำ” ค่ะ กระเทียมดำเป็นวัตถุดิบที่มีต้นกำเนิดในเอเชีย จากประเทศเกาหลี มานานหลายปีและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่พ่อครัวและนักชิมทั่วโลก แต่ปกติแล้วกระเทียมจะมีสีขาวตามธรรมชาติ แล้วกระเทียมดำคืออะไรล่ะ? แล้วกลายเป็นกระเทียมดำได้อย่างไร? กระเทียมดำคืออะไร ?  (Black garlic?) กระเทียมดำ จริงๆ แล้วก็คือกระเทียมขาวที่เรารู้จักกันดีนั่นเองค่ะ แต่ภายหลังการนำกระเทียมขาวมาบ่มด้วยอุณหภูมิ 60 – 76.6 […]

Continue Reading...

4 เหตุผลที่คุณควรรับประทานกระเทียมดำและวิธีจะทำกระเทียมดำอย่างไรที่บ้าน

กระเทียมดำคือผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารจากกลีบกระเทียมโทนสด และอีกทั้งเป็นยาสำหรับชาวเอเชียจำนวนมาก ความโดดเด่นของกระเทียมดำนั้นทำให้กระเทียมดำจัดเป็น ”อาหารขั้นสุดยอด” อันใหม่ล่าสุด ที่สามารถกินได้เปล่าๆ กินพร้อมขนมปัง หรือใช้ประกอบอาหารจานโปรดทั้งหลายของคุณได้ด้วย การรับประทานกระเทียมจะช่วยให้คุณมีสุขภาพร่างกายที่ดีและนี่คือสี่เหตุผลว่าทำไมต้องรับประทานกระเทียมดำ 1. ช่วยควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2(เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบมากที่สุด)ต้องประสบปัญหาสุขภาพเนื่องจากผลกระทบของภาวะเครียด โรคเบาหวานอาจนำไปสู่อาการป่วยแทรกซ้อนร้ายแรง เช่นโรคไต โรคหัวใจ เส้นประสาทได้รับความเสียหายและอาจนำไปสู่ปัญหาสายตาซึ่งทำให้เกิดอาการตาบอด โดยไม่สามารถควบคุมได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกระเทียมดำสามารถลดภาวะเครียดที่เกิดจากปริมาณน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าระดับสารต่อต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูงในกระเทียมดำยังสามารถส่งผลอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ากระเทียมธรรมสดทั่วไปและมีประโยชน์ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่างๆ 2. ควบคุมปริมาณคลอเรสเตอรอล คลอเรสเตอรอลชนิดดี หรือ HDL จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในขณะที่คลอเรสเตอรอลที่ไม่ดี หรือ LDL เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร […]

Continue Reading...