มารู้จักโรคไขมันพอกตับ (HEPATIC STEATOSIS) กับประโยชน์ของกระเทียมดำกันค่ะ

วันนี้บล็อกข่าวสารขอเสนอภัยเงียบอีกชนิดหนึ่งที่หลายท่านน่าจะพอทราบบ้างแล้ว คือ “โรคไขมันพอกตับ” (Fatty liver disease หรือ Hepatic Steatosis) แต่สำหรับท่านใดต้องการข้อมูลที่ละเอียดยิ่งขึ้นด้วยภาษาสบายๆ อ่านง่าย ติดตามอ่านต่อด้านล่างได้เลยจ้า

ทำไมถึงเรียกโรคไขมันพอกตับว่าเป็น ภัยเงียบ?

เพราะโรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักไม่แสดงอาการอะไรออกมาให้เห็น ดังนั้นผู้ป่วยจึงแทบไม่รู้สึกตัวเลยว่าเริ่มเป็นโรคเข้าแล้ว แถมอาการที่เกิดขึ้นได้ก็ไม่เฉพาะเจาะจงพอ เช่น อ่อนเพลีย มึนเวียน คลื่นไส้ หรือรู้สึกตึงๆ บริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ซึ่งแม้จะมีอาการขึ้นจริงๆ หลายครั้งก็อาจจะนึกว่าเป็นโรคอื่นไปได้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่ามีโรคไขมันพอกตับ จึงมักตรวจเจอโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี หรือไปพบแพทย์ด้วยโรคอื่นๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อย่ามองข้ามโรคนี้เด็ดขาด เพราะแม้ในระยะเริ่มแรกของโรคจะไม่ได้ก่อให้เกิดอาการใดๆ ก็จริง แต่หากปล่อยไว้นานเข้า จะก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆ จนในที่สุดสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็ง และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งตับได้ในอนาคต

ไขมันพอกตับ เกิดจากอะไร?

ตามชื่อโรคเลยค่ะ หนึ่งในสาเหตุหนึ่งเกิดจากการโรคอ้วน หรือการทานอาหารมากเกินจำเป็น แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคไขมันพอกตับสามารถเกิดได้แม้จะทานอาหารไม่มากนัก ทางการแพทย์แบ่งสาเหตุหลักๆ ออกเป็น 2 อย่างค่ะ

1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease, AFLD): แค่ดื่มแอลกอฮอล์ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้แล้วค่ะ โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับทั้งชนิดของเครื่องดื่ม เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม ปริมาณที่ดื่มและระยะเวลาที่ดื่มค่ะ

2.  ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD): คนไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็มีสิทธิ์ค่ะ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือจากไวรัสตับอักเสบ

โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในคนอ้วนและคนผอม การผอมจึงไม่ได้บอกว่าเราปลอดภัยนะคะ ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงต้องไม่ลืมตรวจเช็คสุขภาพตับตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอนะคะ

ตรวจสุขภาพตับด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

  • การตรวจเลือด: แพทย์สามารถตรวจสารที่สร้างจากเซลล์ตับที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดของเราได้ เช่น AST, ALT หากพบว่าค่าตับขึ้นสูงผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกถึงการอักเสบของตับค่ะ
  • การตรวจอัลตราซาวนด์: การใช้คลื่นเสียง ultrasound ในการส่องดูเนื้อตับ เป็นเทคนิคการตรวจที่ไม่เจ็บด้วยค่ะ แพทย์จะเอาหัวตรวจมาไถๆ บริเวณหน้าท้องของเรา ก็จะพอบอกได้เบื้องต้นว่าตับเรามีไขมันมาเกาะมากผิดปกติแล้วหรือยัง
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): การตรวจโดยวิธีนี้จะได้รายละเอียดมากกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ แต่ราคาก็แอบแพงขึ้นด้วยนะคะ
  • การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ: หากแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีตรวจก่อนหน้า หรือมีหลายโรคที่ยังต้องคำนึงถึงอยู่ ก็จำเป็นต้องเจาะเพื่อนำเนื้อตับมาตรวจค่ะ
  • การตรวจระดับความแข็งของตับ และวัดปริมาณไขมันในตับด้วยเครื่อง FibroScan: เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ไม่เจ็บเลยค่ะเพราะไม่ต้องเจาะอะไรในตัวเรา และด้วยเทคนิคนี้ แพทย์สามารถดูความแข็งของเนื้อตับเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และบอกความรุนแรงของโรคว่าเข้าสู่ภาวะตับแข็งแล้วหรือยังได้ด้วย

ไขมันพอกตับ เกิดจากอะไร?

ตามชื่อโรคเลยค่ะ หนึ่งในสาเหตุหนึ่งเกิดจากการโรคอ้วน หรือการทานอาหารมากเกินจำเป็น แต่ไม่เพียงเท่านั้น โรคไขมันพอกตับสามารถเกิดได้แม้จะทานอาหารไม่มากนัก ทางการแพทย์แบ่งสาเหตุหลักๆ ออกเป็น 2 อย่างค่ะ

1. จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease, AFLD): แค่ดื่มแอลกอฮอล์ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้แล้วค่ะ โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับทั้งชนิดของเครื่องดื่ม เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม ปริมาณที่ดื่มและระยะเวลาที่ดื่มค่ะ

2.  ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD): คนไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็มีสิทธิ์ค่ะ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือจากไวรัสตับอักเสบ

โรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในคนอ้วนและคนผอม การผอมจึงไม่ได้บอกว่าเราปลอดภัยนะคะ ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงต้องไม่ลืมตรวจเช็คสุขภาพตับตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอนะคะ

ตรวจสุขภาพตับด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

  • การตรวจเลือด: แพทย์สามารถตรวจสารที่สร้างจากเซลล์ตับที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดของเราได้ เช่น AST, ALT หากพบว่าค่าตับขึ้นสูงผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกถึงการอักเสบของตับค่ะ
  • การตรวจอัลตราซาวนด์: การใช้คลื่นเสียง ultrasound ในการส่องดูเนื้อตับ เป็นเทคนิคการตรวจที่ไม่เจ็บด้วยค่ะ แพทย์จะเอาหัวตรวจมาไถๆ บริเวณหน้าท้องของเรา ก็จะพอบอกได้เบื้องต้นว่าตับเรามีไขมันมาเกาะมากผิดปกติแล้วหรือยัง
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): การตรวจโดยวิธีนี้จะได้รายละเอียดมากกว่าการตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ แต่ราคาก็แอบแพงขึ้นด้วยนะคะ
  • การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ: หากแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธีตรวจก่อนหน้า หรือมีหลายโรคที่ยังต้องคำนึงถึงอยู่ ก็จำเป็นต้องเจาะเพื่อนำเนื้อตับมาตรวจค่ะ
  • การตรวจระดับความแข็งของตับ และวัดปริมาณไขมันในตับด้วยเครื่อง FibroScan: เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ไม่เจ็บเลยค่ะเพราะไม่ต้องเจาะอะไรในตัวเรา และด้วยเทคนิคนี้ แพทย์สามารถดูความแข็งของเนื้อตับเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค และบอกความรุนแรงของโรคว่าเข้าสู่ภาวะตับแข็งแล้วหรือยังได้ด้วย

ไม่อยากตับแข็ง ไม่อยากโดนไขมันพอก ปรับพฤติกรรมอย่างไรดี?

1. ออกกำลังกายค่ะ!! อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงนะคะ ข้อนี้ย้ำอีกครั้งว่าจำเป็นสำหรับทุกคนนะคะ ไม่ใช่เฉพาะคนน้ำหนักเกินอย่างเดียว

2. ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีและปลอดภัย!! การลดน้ำหนักที่ปลอดภัยไม่ควรลดเร็วเกินไปค่ะ โดยแนะนำแค่ 0.25-0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์เท่านั้น การงดอาหารอย่างเดียวไม่สามารถช่วยลดไขมันพอกตับได้นะคะ จึงขอย้ำอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 ว่า “จงออกกำลังกาย” ค่ะ

3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์!! เข้าใจค่ะว่าเป็นเรื่องยากสำหรับบางท่าน แต่หากเรามีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะดูแลตัวเอง การลดปริมาณลงวันละนิดๆ และสังเกตพัฒนาการของสุขภาพตัวเอง ก็เป็นอีกกำลังใจนึงให้เราหลีกเลี่ยงได้สำเร็จค่ะ

4. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ!! อย่าลืมนัดของคุณหมอนะคะ การตรวจสุขภาพประจำปีมักจะรวมการตรวจเลือดดูค่าตับอักเสบอยู่แล้ว จึงสามารถช่วยคัดกรองโรคนี้ให้เราได้ระดับหนึ่งเลยค่ะ

5.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ!! แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องบำรุงจากภายในค่ะ การดื่มน้ำมากๆ จิบน้ำบ่อยๆ ลดการทานของหวานของมัน สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ค่ะ

อ่านถึงตรงนี้แล้ว แอดขอขายของสักเล็กน้อยพองาม ติดตามอ่านต่อได้เลยจ้า

กระเทียมดำหรือกระเทียมโทนดำ ดีจริงหรือ?

กระเทียมดำที่ขึ้นชื่อว่าเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งกระบวนการอักเสบต่างๆ ของร่างกายก็มีบทบาทในโรคไขมันพอกตับด้วยนะคะ แอดได้ค้นวิจัยที่ใช้กระเทียมดำในการป้องกันและรักษาโรคไขมันพอกตับและตับอักเสบ จากสาเหตุต่างๆ สรุปเอามาให้อ่านกันค่ะ

 1. งานวิจัยในประเทศเกาหลีพบว่ากระเทียมดำช่วยลดการอักเสบของตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ (Chronic alcohol-induced hepatic damage) โดยเป็นการวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าปริมาณการสะสมไขมันในตับลดลง และปริมาณค่าตับอักเสบในเลือด เช่น ALT, AST, ALP, LDH ลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

2. มีคนนำกระเทียมดำไปวิจัยกับตับที่ถูกทำให้อักเสบจากยาเคมีบำบัด เช่น cyclophosphamide เช่นเดียวกับงานวิจัยด้านบน การศึกษานี้วันค่าตับในเลือด พบว่ากลุ่มศึกษาที่ได้กระเทียมดำ มีค่าตับที่น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กระเทียมดำ อีกทั้งปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระภายในตับเอง (hepatic antioxidant enzyme levels) เช่น CAD, SOD, GSH-Px ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย และยังพบอีกว่ากระเทียมดำช่วยปกป้องการตายของเซลล์ตับ โดยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นและการอักเสบต่างๆ  และที่สำคัญคือฤทธิ์ปกป้องตับเหล่านี้มีผลทั้งการทำลายตับแบบเฉียบพลัน และการทำลายตับที่เกิดอย่างเรื้อรังด้วย

ข้อควรรู้คือไม่ใช่กระเทียมดำทุกชนิดจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง เพราะสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารเอสเอซี (SAC, S-allylcysteine) เหล่านี้จะเพิ่มสูงที่สุดเมื่อบ่มในอุณหภูมิและความชื้นที่ถูกควบคุมอย่างพิถีพิถันเท่านั้นค่ะ และยังจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาบ่มถึง 3 เดือนเต็ม จึงจะได้ปริมาณที่สูงที่สุด

หากจะเลือกด้วยตาเปล่าคงต้องดูจากลักษณะของเนื้อกระเทียมดำค่ะ เพราะการบ่มถึง 3 เดือนเต็มจะทำให้เนื้อแห้ง เนียน เด้ง เนื้อร่อนออกจากเปลือก รสชาติหวานอร่อย ไม่ขมฝาด และกลิ่นไม่ฉุนเหมือนกระเทียมสดค่ะ

เห็นแล้วใช่มั้ยคะว่า ตับสำคัญกับเรามากแค่ไหน ดูแลตับของเราจากภายใน เริ่มตั้งแต่วันนี้กันเถอะค่ะ 🙂

#ด้วยความห่วงใยจากกระเทียมดำเบเนก้า (Benega Black Garlic) ที่บ่มด้วยระยะเวลานานถึง 3 เดือนเต็ม จึงได้คุณค่าที่สูงสุดค่ะ

ร้านขายอุปกรณ์การแพทย์จำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ กู้ชีพ กู้ภัย อุปกรณ์ด้านงานแพทย์ภาคสนาม ประกอบตกแต่งรถไซเรน, รถกู้ภัย, กู้ชีพ, รถพยาบาล
ครีมปิดผมขาว ผลิตภัณฑ์ แชมพู สมุนไพร แก้ ผม ร่วง สกัดจากธรรมชาติหนึ่งเดียวในโลก ยาย้อมผมออแกนิค, ที่ดูแลเส้นผมและหนังศีรษะได้จบครบวงจร ทำความสะอาดหนังศีรษะ กำจัดความมันได้ดี แก้ปัญหาคัน
แก้จมูกSissy Clinic | คลินิกศัลยกรรม อยู่ในกรุงเทพฯ เรามีบริการทำคาง เสริมจมูก / แก้จมูก ปลูกผม ดูแลผิว ชะลอวัย ดูดไขมันร่างกาย หน้าท้อง ขา แขน ใบหน้า ฉีดฟิลเลอร์ปาก
แผ่นรองเท้า เท้าแบนบริการดูแลรักษาปัญหาสุขภาพเท้า | ทั้งผู้เป็นเบาหวาน เส้นประสาทรับความรู้สึกที่เท้าเสื่อม รักษาโรครองช้ำ ออฟฟิศซินโดรม รักษา เท้าผิดรูป โรคเท้าแบน ปรับรูปเท้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อ้างอิง:

– Ahmed RA. Hepatoprotective and antiapoptotic role of aged black garlic against hepatotoxicity induced by cyclophosphamide. The Journal of Basic and Applied Zoology. 2018;79:8. DOI: 10.1186/s41936-018-0017-7

– Kim MH, Kim MJ, Lee JH, Han JI, Kim JH, Sok DE, et al. Hepatoprotective effect of aged black garlic on chronic alcohol-induced liver injury in rats. Journal of Medicinal Food. 2011;14(7-8):732-738. DOI: 10.1089/jmf.2010.1454

– https://www.bumrungrad.com/th/conditions/fatty-liver-disease

– https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/โรคทางเดินอาหารและตับ/ไขมันพอกตับลดเสี่ยงด้วยการตรวจและปรับพฤติกรรม