ความดันโลหิต “ปกติ” คืออะไร?
ค่าความดันโลหิตมักจะออกมาเป็น “120/80” ซึ่งอ่านได้ว่า “120 และ 80” ตัวเลขด้านบนคือ Systolic และตัวเลขด้านล่างคือ Diastolic ค่าความดันปกติไม่ควรเกิน 120 และ 80 (120/80)
- หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 หมายความว่าคุณอยู่ในระยะที่ 1
- หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 140 และมากกว่า/90 และมากกว่า หมายความว่าคุณอยู่ในระยะที่ 2
- ค่าที่สูงกว่า 180/สูงกว่า 120 หมายความว่าคุณตกอยู่ในภาวะความดันโลหิตสูงและคุณควรไปพบแพทย์ทันที
ทำไมความดันโลหิตสูงถึงเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในทั่วโลก?
ความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและบางครั้งก็มีแนวโน้มที่จะส่งต่อภายในครอบครัวด้วย อายุและเชื้อชาติก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วโอกาสที่จะมีความดันโลหิตสูงก่อนอายุ 44 ปีจะมีความเป็นไปได้ต่ำ และจะสูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีเป็นต้นไป ความดันโลหิตสูงสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณได้โดยที่คุณไม่รู้ตัวเป็นเวลาหลายปีก่อนที่มันจะแสดงอาการใดๆ ขึ้น
อันตรายของความดันโลหิตสูง
ผนังหลอดเลือดที่แข็งแรงมีความยืดหยุ่นและแข็งแรงเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้อย่างอิสระ สามารถส่งมอบสารอาหารและออกซิเจนให้กับอวัยวะสำคัญของเราได้ เมื่อความดันของเลือดที่ไหลผ่านหลอดเลือดแดง (ซึ่งก็คือความดันโลหิตสูง) เพิ่มขึ้น เซลล์ของผนังหลอดเลือดได้รับความเสียหาย เมื่อคุณอายุมากขึ้น ไขมันจะสะสมในผนังหลอดเลือดซึ่งจะทำให้ความยืดหยุ่นของหลอดน้อยลงและจำกัดการส่งปริมาณเลือดไปยังอวัยวะสำคัญหลายๆ แห่ง
ความเสียหายต่อหัวใจ: เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวาย) หัวใจซ้ายโต และหัวใจล้มเหลว
ความเสียหายต่อสมอง: เนื่องจากความดันโลหิตสูงขัดขวางการหล่อเลี้ยงเลือดไปยังสมองจึงทำให้เกิดการขาดเลือดชั่วคราว (TIA) โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม และความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย
ความเสียหายต่อไต: เนื่องจากไตกรองของเหลวส่วนเกินและของเสียจากเลือดไหลผ่านเข้าไป การไหลที่มีแรงดันสูงจะทำลายเซลล์ในไตทำให้เกิดรอยแผลเป็นจากไต (Glomerulosclerosis) และในที่สุดก็ไตวาย
ความเสียหายต่อดวงตา: หลอดเลือดในดวงตามีขนาดเล็กและบอบบาง ไม่สามารถทนต่อความดันที่เพิ่มขึ้นได้เหมือนเส้นเลือดใหญ่ๆ หลอดเลือดที่เสียหายไม่สามารถส่งไปหล่อเลี้ยงสายตาได้ดีได้และจะทำให้จอประสาทตาเสีย (Retinopathy) เกิดการสะสมของของเหลวใต้จอประสาทตา (Choroidopathy) และสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทได้ (โรคเส้นประสาทตาอักเสบ)
กระเทียมดำสามารถป้องกันอันตรายร้ายแรงเหล่านั้นได้
โดยการลดระดับคอเลสเตอรอล
ผลวิจัยกระเทียมดำหลายแห่งชี้ว่ากระเทียมดำมีผลดีต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย กระเทียมดำเพื่อสุขภาพสามารถปรับปรุงระดับไขมันได้โดยการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ลิโพโปรตีนหนาแน่นสูง (HDL) และมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
โดยการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต
ประโยชน์ของกระเทียมดำอย่างหนึ่งก็คือการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตโดยเพิ่มการผลิตไฮโดรเจนซัลไฟด์ สารประกอบกำมะถันจำนวนมากในกระเทียมดำที่ดีต่อสุขภาพช่วยรักษาระดับความดันโลหิตที่ปลอดภัยและยังช่วยให้การแข็งตัวของเลือดเป็นปกติอีกด้วย
ด้วยการทำให้หัวใจแข็งแรง
เนื่องจากกระเทียมดำสามารถลดระดับโฮโมซิสเทอีนในกระแสเลือดได้ มันจึงช่วยทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรงและป้องกันการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดแดงได้ มันยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตที่เป็นปัจจัยหลักของปัญหาหัวใจอีกด้วย
vaginal tightening The Skin Group Medical Clinic is a group of 7 clinics specializing in dermatology, anti-aging and aesthetic in Bangkok and suburbs with close




Sources
https://www.victoriahealth.com/editorial/health-benefits-black-garlic
https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/blood-pressure-causes#1
https://www.simplysupplements.co.uk/healthylife/healthy-heart/health-benefits-of-black-garlic
16-HMKK_ThitikamonModhuang_MINTODA